เด็กและเยาวชนใน “ชุมชนโรงหมู” ก็เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนคลองเตย ส่วนมากไม่ได้เรียนหนังสือและตกล่นจากระบบการศึกษา เนื่องจากปัจจัยหลายประการ ทั้งปัญหาความยากจน สภาพครอบครัวที่ไม่พร้อม เด็กหลายคนต้องออกเลิกเรียน ไร้วุฒิการศึกษา ทำให้หางานทำได้ยาก ส่งผลให้หลายคนเข้าสู่วงจรยาเสพติด

กลุ่ม Music Sharing กลุ่มที่สอนดนตรีให้กับเยาวชนชุมชนคลองเตย เป็นระยะเวลา 6 ปี ภายใต้โครงการ “คลองเตยดีจัง” ได้ใช้กระบวนการทางศิลปะสร้างแรงบันดาลใจและพัฒนาเยาวชน สร้างพื้นที่แสดงออก เปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงทักษะ ความสามารถของตนเองให้เป็นที่ยอมรับ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยง

อย่างไรตามทางกลุ่ม Music Sharing เห็นถึงความสำคัญในเรื่องการศึกษา จึงได้ร่วมกันชุมชนจัดตั้งศูนย์การเรียนขึ้น เพื่อรองรับเด็กและเยาวชนที่ขาดโอกาสเรียน ให้พวกเขามีวุฒิการศึกษา มีทักษะชีวิตด้านต่างๆ ไว้ใช้ในการดำรงชีวิตในอนาคตข้างหน้า

ศูนย์การเรียน………………… โดย ศิริพร พรมวงศ์ เมื่อวันที่ ……………….. ตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่ระบุสิทธิและเสรีภาพทางวิชาการไว้ในมาตรา 50 ว่า “ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง…”

จากหลักสิทธิเสรีภาพทางวิชาการตามรัฐธรรมนูญได้กลายเป็นเจตนารมณ์และหลักการสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งมีความสัมพันธ์ สอดคล้องกับหลักการของการศึกษาทางเลือกที่ปรากฏในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 12 ที่ได้ให้การรับรองสิทธิในการจัดการศึกษาแก่ภาคสังคมและประชาชน โดยกำหนดว่านอกเหนือจากรัฐ เอกชน และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ มีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ซึ่งในขณะนี้มีกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิของบุคคลในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในศูนย์การเรียน พ.ศ. 2554 ประกาศใช้บังคับแล้ว เมื่อวันที่ 6 มกราคม  พ.ศ.2555  กำหนดให้สถานศึกษาที่บุคคลจัดตั้งขึ้นเพื่อจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามกฎกระทรวงนี้ เรียกว่า “ศูนย์การเรียน”

วิสัยทัศน์ (VISION)

สร้างสรรค์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนทุกคนมีความสุข และประยุกต์องค์ความรู้ให้เหมาะสมกับศตวรรษที่ 21

แนวคิดหลักสูตร

ชุมชนที่มีปัญหาความยากจน จำนวนสมาชิกในครอบครัวมีมากเกินรายได้ ไม่พอกับรายจ่ายในดูแล ส่งผลให้พ่อแม่ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลลูกของตนเอง เพราะเวลาส่วนใหญ่อยู่กับการทำงาน ส่งผลกระทบด้านจิตใจกับเด็ก รวมถึงเด็กและเยาวชนก็ไม่ได้เรียนหนังสือตามระบบปกติ บางคนต้องออกจากการเรียนกลางคัน จากสาเหตุหลายๆ ประการ อาทิ ไม่ชอบครู เรียนที่โรงเรียนไม่สนุก โดนเพื่อนล้อเพื่อนแกล้ง หรือลาออกมาเพื่อหางานทำ

ศูนย์การเรียน จึงออกแบบหลักสูตรเพื่อรองรับปัญหาเหล่านี้ โดยเน้นให้เด็กมีแนวทางในการประกอบอาชีพ มีรายได้ระหว่างเรียน มีทักษะชีวิตในการทำงาน การรู้จักคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจ การควบคุมอารมณ์ การจัดการอารมณ์ของตนเอง รวมถึงทักษะการสื่อสาร การวางตัวการเข้าสังคมได้ เหล่านี้จะเป็นทักษะพื้นฐานในการทำงานที่สำคัญสำหรับเด็กและเยาวชนควรจะมีในศตววรรษที่ 21 โดยหลักสูตรแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มประสบการณ์เรียนรู้ ได้แก่

หมวดที่ 1 ภาษาและการสื่อสาร (ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ) 
หมวดที่ 2 การบูรณาการด้านวิชาการ STEAM (วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรม, ศิลปะ และคณิตศาสตร์) 
หมวดที่ 3 ทักษะชีวิต
หมวดที่ 4 ทักษะอาชีพ